รู้เท่าทันหนาวนี้ก่อนระบาด!
โรคของต้นอ่อนหรือกล้าผักต่างๆ ที่รู้จักกันดีที่สุด ได้แก่ โรคโคนเน่าคอดิน
(โรคกล้าตายพราย หรือโรคเหี่ยวเขียว)
ซึ่งจัดว่าเป็นโรคระบาดสำคัญที่สร้างความเสียหายให้กับผักมากมายหลายชนิด หลายตระกูลในเกือบทุกสภาพของดินและภูมิอากาศตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการเจริญเติบโต
เชื้อรามีหลายชนิดที่เป็นสาเหตุให้เกิด
โรคเน่าคอดิน ได้แก่ Phycomycetes : Pythium spp. เป็นต้น
ลักษณะอาการของโรค
เชื้อราจะเข้าทำลายพืชในระยะต้นกล้า ทำให้ลำต้นเน่าและตายลงอย่างรวดเร็ว
เส้นใยของราที่เป็นสาเหตุจะแพร่กระจายอยู่ในดิน และเข้าสู่ต้นกล้าโดยแทงเข้าไปในเซลล์ผิว
แบ่งออกเป็น 2 ขั้น
คือ
1) ราเข้าทำลายเมล็ดหรือต้นกล้า
ก่อนที่จะงอกพ้นดิน ทำให้เมล็ดไม่งอกหรือรากต้นอ่อน ถูกทำลายทันที
ทำให้ไม่มีใบเลี้ยงออกมา
2) ต้นกล้าเป็นโรคเมื่อโผล่พ้นดินแล้ว
ถ้าเข้าทำลายส่วนล่างหรือส่วนราก โดยราจะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในเนื้อเยื่อพืชโดยเฉพาะราก
ทำให้ต้นกล้าเหี่ยวทั้งต้นและหักล้มก่อนจะแสดงอาการเหี่ยว
โดยส่วนติดผิวดินจะเน่าในขณะที่ส่วนอื่นยังเต่งอยู่
แต่ถ้าเชื้อราเข้าทำลายส่วนบนหรือส่วนใบเลี้ยง ซึ่งจะพบไม่บ่อยนัก
จะพบเมื่อต้นกล้าอยู่กันอย่างหนาแน่นภายหลังจากระยะที่มีฝนตก
การป้องกันกำจัด
มีวิธีการป้องกันกำจัดอยู่หลายวิธี เช่น
1. ใช้ชีววิธี
โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ซึ่งเป็นศัตรูของราที่ทำให้เกิดโรคเน่าคอดิน
โดยทำการคลุกกับเมล็ด
หรือดิน หรือแช่เมล็ดและกิ่งพันธุ์ในอัตรา
200ซีซี/น้ำ20ลิตรเป็นเวลา 2-10ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความหนา บางของเยื่อพืชแต่ละชนิด
จะป้องกันการเกิดโรคได้ผลดี หลังเพาะชำ พ่นในอัตรา 100ซีซี/น้ำ20ลิตร และฉีดพ่นหลังปลูกให้ทั่ว ใบ กิ่งก้าน และโคนทุก10วันเพื่อป้องกันและกำจัดโรคพืช
2. คลุกเมล็ดด้วยสารเคมีที่ฆ่าเชื้อรา
(fungicide) ช่วยป้องกัน hypocotyls และradicle
ที่งอกมาให้มีความต้านทานต่อรา ที่นิยมใช้คือ captan ,
dichlone และ thiram
3. ใช้สารเคมีพ่นต้นกล้าในระยะที่ปลูกใหม่
เช่น ziram , chloranil , captan ,soluble coppers ถ้าดินมีเชื้อมากและมีความชื้นสูง
4. ปรับสภาพแวดล้อมเพื่อลดความรุนแรงของเชื้อโรคโดย
4.1 เพาะเมล็ดในระดับตื้น ลึกจากผิวดิน 1/4 นิ้ว งดให้น้ำตอนเช้าเพื่อให้การระเหยน้ำเร็วขึ้น จัดการระบายน้ำ
ในแปลงเพาะให้ดี
4.2 กำหนดความหนาแน่นของกล้าในแปลงเพาะให้เหมาะสม
4.3 กำจัดวัชพืชในแปลงเพาะ
4.4 ไม่ควรให้ร่มเงามากเกิน 50 เปอร์เซ็นต์
4.5 ใช้ปุ๋ยที่มีระดับของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ
โปแตสเซียม สมดุลเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ลำต้น โดยอัตราที่เหมาะสมคือ nitrogen
: phosphorus : potassium = 1: 2: 1
4.6 ใช้ดินที่เป็นกรดในการเพาะ
หากเกษตรกรท่านใดมีข้อสงสัยต้องการ
ปรึกษาและขอคำแนะนำติดต่อได้ที่ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน
(ศจช.)และสำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน หรือ ศูนย์ส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตพืช
(สมาร์ทกรีน) 081-9967123
หมอนก
ขอบคุณข่าวสารดีดีจาก : เว็บเชียงใหม่นิวส์